การทดสอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้าด้วยโหลดเทียม ตอน 2
จากตอนที่แล้วเราพอทราบถึงการทดสอบโหลดเทียม (Dummy Load Test) ไปแล้ว ในความเห็นของผมถ้าท่านซื้อเครื่องกำเนิดไฟฟ้า Cummins จาก บจก.คัมมิ่นส์ ดีทแฮล์ม หรือ Caterpillar จาก บจก.เมโทรแมชีนเนอรี่ ท่านไม่มีความจำเป็นต้องทดสอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้าด้วยโหลดเทียม (Dummy Load Test) เนื่องจากสินค้าจากบริษัทเหล่านี้ เป็นสินค้าที่ประกอบสำเร็จรูปมาจากโรงงานที่ต่างประเทศ มีการทดสอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้ามาจากโรงงานแล้ว อีกทั้งเป็นบริษัทที่มั่นคง ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้ามานานไม่ต่ำกว่า 20 ปี และเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจากทั้งสองบริษัทนี้ก็มีการรับประกันอยู่แล้ว ดังนั้นหากเกิดปัญหาในระหว่างการรับประกันท่านก็สามารถให้ทางบริษัทเข้ามาดูแลท่านได้
การทดสอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้าด้วยโหลดเทียม (Dummy Load) ตอน 1
โดยปกติโหลดเทียม (Dummy Load) ที่นิยมใช้สำหรับทดสอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้าโดยทั่วไปจะเป็น โหลดน้ำเกลือ หรือโหลด Heater โดยสมัยก่อนจะใช้โหลดน้ำเกลือกันเยอะ แต่ค่อนข้างจะยุ่งยากในการที่ต้องเตรียมสภาวะโหลด โดยต้องเติมน้ำและเกลือลงไปเป็นระยะๆ เพื่อรักษาระดับ power factor ให้ไกล้เคียง 1 แต่ในปัจจุบัน ผู้ขายเครื่องกำเนิดไฟฟ้ามักจะทดสอบด้วยโหลดฮีทเตอร์ Heater ซึ่งค่อนข้างสะดวกกว่ามาก (แต่ผู้ขายต้องลงทุนซื้อโหลด Heater หรือไม่ก็ต้องไปเช่ามา) โดยการทดสอบโหลดเทียม (Dummy Load Test) ที่ผู้ขายโดยทั่วไปเสนอจะเป็นการทดสอบที่โรงงานของผู้ขายเอง มากกว่าที่จะทดสอบที่หน่วยงานของผู้ซื้อ เนื่องจากเครื่องไม้เครื่องมืออุปกรณ์ที่โรงงานจะพร้อมกว่าสะดวกกว่า สำหรับการทดสอบที่หน่วยงานของผู้ซื้อนั้นจะมีค่าใช้จ่ายสูงในการขนย้ายโหลดเทียม (Dummy Load) ไปยังหน่วยงาน ค่าแรงช่าง ค่าเช่าสายไฟ (ในกรณีที่สถานที่วางโหลดเทียมอยู่ห่างจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้า) เป็นต้น