สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา สอบราคาซื้อเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาด ไม่น้อยกว่า 300 กิโลวัตต์
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา มีความประสงค์จะสอบราคาซื้อ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ขนาดไม่น้อยกว่า ๓๐๐ กิโลวัตต์ พร้อมติดตั้งและเดินสายไฟฟ้า จำนวน ๑ เครื่อง สำหรับโรงพยาบาลวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
กำหนดยื่นสอบราคาในวันที่ 19 มกราคม 2553 ถึง 1 กุมภาพันธ์ 2553 ระหว่างเวลา 08.30 น. ถึง 16.30 น. ณ งานพัสดุ กลุ่มงานบริหารทั่วไป สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา ตั้งอยู่เลขที่ 255 หมู่ 11 ตำบลโคกกรวด อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา และกำหนดเปิดซองใบเสนอราคาในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 13.30 น.
ผู้สนใจติดต่อขอรับ/ซื้อเอกสารสอบราคาซื้อ ในราคาชุดละ – บาท ได้ที่ งานพัสดุ กลุ่มงานบริหารทั่วไป สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา ตั้งอยู่เลขที่ 255 หมู่ 11 ตำบลโคกกรวด อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ระหว่างวันที่ 19 มกราคม 2553 ถึงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2553 สอบถามรายละเอียดทางโทรศัพท์หมายเลข 0 4446 5010-4 ต่อ 159,302 ในวันและเวลาราชการ
ถังน้ำมันใต้แท่นกับถังน้ำมันแยกต่างกันอย่างไร
ในปัจจุบันบริษัทฯที่ขายเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจะทำถังน้ำมันเชื้อเพลิงใต้แท่นเครื่องสำหรับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดเล็ก เพราะสะดวกต่อการใช้งาน ประหยัดพื้นที่ ไม่ต้องเดินท่อน้ำมันให้เกะกะ เช่น เครื่องกำเนิดไฟฟ้า Caterpillar ขนาดเล็กกว่า 500 เควีเอ พิกัดสำรองฉุกเฉิน (Standby rating) จะออกแบบเป็นถังน้ำมันใต้แท่นเครื่องมาจากโรงงาน เช่นเดียวกับ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าของ Cummins ที่ปัจจุบัน ก็จะออกแบบเป็นถังน้ำมันใต้แท่นเครื่องมาจากโรงงานเช่นเดียวกัน
และสำหรับถังน้ำมันแยกนั้นมักจะใช้กับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดใหญ่ เนื่องจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดใหญ่อัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันจะสูง เช่น เครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาด 1000 เควีเอ พิกัดสำรองฉุกเฉิน (Standby rating) ถ้าเดินที่ 100% load จะใช้น้ำมัน 200 ลิตร ต่อชั่วโมง (ตามบทความที่เคยเขียนไว้ก่อนหน้านี้) และถ้าต้องการให้สามารถใช้งานได้ 8 ชั่วโมง ก็ต้องมีถังน้ำมันขนาด 1600 ลิตร ซึ่งถ้าเอาถังน้ำมันไว้ใต้แท่นเครื่องจะทำให้เครื่องกำเนิดไฟฟ้ามีขนาดความสูงเกินความจำเป็น
นอกจากนี้ยังอาจส่งผลกระทบต่อการสั่นสะเทือนของเครื่องได้ (ตามบทความก่อนหน้านี้) เนื่องจากปริมาณน้ำมันมีการเปลี่ยนแปลงมาก ทำให้น้ำหนักของเครื่องกำเนิดไฟฟ้ารวมเปลี่ยนแปลงมาก ซึ่งจะทำให้หาสปริงรองแท่นเครื่องที่เหมาะสมกับน้ำหนักที่มีช่วงการเปลี่ยนแปลงขนาดนี้ทำได้ยาก
สำหรับในเรื่องของความปลอดภัยซึ่งบางท่านอาจจะกลัวว่ามีถังน้ำมันอยู่ใต้แท่นเครื่องจะอันตรายหรือเปล่า ความคิดเห็นของผมฟันธงได้เลยครับว่าถ้าจะอันตรายมันก็ไม่แตกต่างจากถังน้ำมันแยกหรอกครับ อย่ากลัวโดยใช่เหตุ เหตุผลที่ผมกล้าฟันธงมีดังนี้
1. ถังน้ำมันใต้แท่นเครื่องนั้นออกแบบมาจากโรงงานผู้ผลิตโดยตรงย่อมรับประกันได้ว่าระดับยี่ห้อดัง ๆ อย่าง Caterpillar หรือ Cummins ต้องไม่ออกแบบให้เสียชื่ออย่างแน่นอน และก่อนผลิตออกมาวิศวกรต้องมีคำนวณและออกแบบมาเป็นอย่างดีแล้ว
2. ถังน้ำมันแยกก็ต้องต่อท่อน้ำมันมาเข้าเครื่องเหมือนกัน ในกรณีที่เกิดไฟไหม้ ไฟก็ลามมาที่เครื่องได้ไม่ต่างกับถังน้ำมันอยู่ใต้แท่นเครื่อง
3. ขนาดรถยนต์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ถังน้ำมันอยู่ในตัวรถวิ่งไปวิ่งมา ยังไม่เห็นจะกลัวกันเลย ยิ่งรถยนต์ใช้น้ำมันเบนซินด้วยแล้วก็ยังวิ่งกันออกถม ดังนั้นจะกลัวอะไรกับถังน้ำมันใต้แท่นหล่ะครับ
แต่ที่น่าแปลกมีบุคคลอยู่ 2 ประเภทครับที่น่าปวดหัว พวกจะใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าเครื่องเล็กแต่อยากได้ถังน้ำมันแยก (เพราะกลัวเรื่องความปลอดภัย) กับอีกพวกคือจะใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าเครื่องใหญ่แต่กลับอยากได้ถังน้ำมันใต้แท่นเครื่อง (เพราะไม่อยากมีท่อน้ำมันเกะกะ) เออ เอาเข้าไป แต่อยากอะไรก็อยากได้ ขอให้มีตังจ่ายอย่างเดียว พวกลูกจ้างอย่างผมก็จัดหาให้ได้ทุกอย่างอยู่แล้น
การทำห้องเก็บเสียงสำหรับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ตอน 2
โดยปกติสเปคมาตรฐานทั่วไปจะกำหนดระดับความดังของเสียงต้องไม่เกิน 85 dBA ที่ระยะ 1 เมตร เมื่อวัดจากผนังห้องด้านนอก แต่บางครั้งก็เคยเจอสเปคบางงานเหมือนกันครับ ที่ต้องการให้ระดับความดังของเสียงไม่เกิน 60 dBA ที่ระยะ 1 เมตร ซึ่งมันค่อนข้างจะเงียบมากเลยครับ เพราะปกติเสียงคนเราคุยกันก็จะดังอยู่ประมาณ 60-70 dBA แล้ว ยิ่งเอาไปใช้บนเกาะที่มีเสียงลม (บางทีระดับความดังเกิน 60 dBA) อีกครับ ซึ่งจะวัดยังไงก็เกิน 60 dBA อันเนื่องมาจาก Background noise (เสียงจากสิ่งแวดล้อม) ดังนั้นส่วนมากแล้วจะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายโดยใช่เหตุ เพราะการทำห้องเก็บเสียงให้ได้ 60 dBA ค่าใช้จ่ายจะแพงกว่า 85 dBA 2-3 เท่าเลยหล่ะครับ ดังนั้นผมแนะนำว่าเอาตามมาตรฐาน 85 dBA ก็น่าจะเพียงพอ หรือถ้าซีเรียสจริงๆ ก็สัก 75dBA ก็เหลือเฟือแล้วหล่ะครับ
เครื่องกำเนิดไฟฟ้าพิกัดสำรองฉุกเฉินกับพิกัดต้นกำลัง
โดยทั่วไปเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบ่งพิกัดตามการใช้งาน ดังนี้
1. พิกัดแบบสำรองฉุกเฉิน (Standby Rating) ใช้สำหรับหน่วยงานที่มีไฟหลวงใช้งานอยู่แล้ว และต้องการใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรองในขณะที่ไฟดับ เช่น ฟาร์ม, โรงงาน, โรงพยาบาล, ศูนย์การค้า, อาคารสูง เป็นต้น ซึ่งโหลดอาจมีการเปลี่ยนแปลงขึ้น ๆ ลง ๆ และควรเดินที่โหลดเฉลี่ยประมาณ 70%
2. พิกัดแบบต้นกำลัง (Prime Rating) โดยทั่วไปจะถูกนำไปใช้ในสถานที่ที่ไฟหลวงยังเข้าไม่ถึง ใช้เดินเครื่องตลอดเวลา ซึ่งโหลดอาจมีการเปลี่ยนแปลงขึ้น ๆ ลง ๆ และควรเดินที่โหลดเฉลี่ยประมาณ 70%
3. พิกัดต่อเนื่อง (Continuous Rating) โดยทั่วไปจะใช้น้อยเนื่องจากพิกัดดังกล่าวใช้สำหรับโรงไฟฟ้า (Power Plant) ที่เดินจ่ายโหลดคงที่ต่อเนื่อง
ดังนั้นควรเลือกพิกัดกำลังให้เหมาะสมสำหรับการใช้งานนะครับ
ขนาดที่เหมาะสมของห้องเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
บ่อยครั้งครับที่เวลาออกแบบตึกหรืออาคารในตอนแรก จะลืมเตรียมพื้นที่สำหรับห้องเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเอาไว้ ทำให้ต้องมาหาพื้นที่สำหรับวางเครื่องกำเนิดไฟฟ้าทีหลัง ซึ่งขนาดของห้องเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่เหมาะสมนั้น ก็เกี่ยวโยงกับความสะดวกในการบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้า โดยทั่วไปควรมีพื้นที่ว่างทั้งด้านข้างและด้านหลังเครื่องกำเนิดไฟฟ้าประมาณ 1 เมตร (ยิ่งมีพื้นที่มากยิ่งดีครับ) เพื่อสะดวกในการ Service ภายหลัง แต่หากพื้นที่ไม่มีจริงๆ ก็ควรมีพื้นที่ว่างด้านข้างและด้านหลังอย่างน้อยที่สุด 50 เซนติเมตร เพื่อให้คนสามารถเดินรอบเครื่องได้ครับ
การออกแบบแท่นคอนกรีตสำหรับวางเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
แท่นคอนกรีตสำหรับวางเครื่องกำเนิดไฟฟ้าควรมีขนาดใหญ่กว่าเครื่องกำเนิดไฟฟ้าอย่างน้อยที่สุดด้านละ 10 เซนติเมตร เช่น ถ้าเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 2 เมตร แท่นคอนกรีตควรจะมีขนาดกว้างอย่างน้อยที่สุด 120 เซนติเมตร ยาว 220 เซนติเมตร เป็นต้น ถ้าใหญ่กว่าด้านละ 30 เซนติเมตรจะดีมาก เพราะขณะที่เจ้าหน้าที่เข้าไปบำรุงรักษา จะสามารถยืนวางเท้าข้างเครื่องได้อย่างสะดวก