การเลือกขนาดของ ATS
โดยปกติขนาดของ ATS จะเป็นขนาดเดียวกันกับเซอร์กิตเบรคเกอร์
ซึ่งจะมีจำนวนแอมป์ที่นิยมใช้ดังนี้
100 A, 160 A, 250 A, 400 A, 630 A, 800 A, 1000 A
1250 A, 1600 A, 2000 A, 2500 A, 3200 A, 4000 A
และการคำนวณขนาดของ ATS สามารถคำนวณได้อย่างง่าย ๆ คร่าว ๆ โดยการนำเอาค่า KVA พิกัดสำรองฉุกเฉิน (Standby rating) คูณด้วย 1.5
เช่น เครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาด 100 kVA standby ก็จะใช้ ATS ขนาด = 100 x 1.5 = 150
ดังนั้นจะเลือกใช้ขนาด ATS ที่ 160 A (เลือกขนาดที่ใหญ่กว่าที่คำนวณได้) แต่ในกรณีที่ก้ำกึ่ง เช่น
เครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาด 550 kVA Standby เมื่อคูณด้วย 1.5 จะมีค่าเท่ากับ 825 A
บางท่านอาจเลือกใช้ 800 A แต่ถ้าให้ชัวร์ก็เลือกเอาขนาด 1000 A เลยก็ได้ แต่ยิ่งขนาดแอมป์ยิ่งสูงราคาก็จะสูงขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน
ATS คืออะไร ??
ATS ย่อมาจาก Automatic Transfer Switch มีหน้าที่สั่งให้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าทำงานอัตโนมัติในช่วงที่ไฟหลวงดับหรือไฟตก
โดย ATS จะเช็คว่าไฟหลวงดับ หรือไฟตก ก็จะส่งสัญญาณ ไปเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (generator) ให้สตาร์ท เมื่อเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสตาร์ท
จนความถี่, โวล์ต ฯ ได้ค่าปกติแล้ว ก็จะสั่ง Transfer เอาไฟจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (generator) เข้าไปยังระบบทันที
ซึ่งการทำงานดังกล่าวสามารถตั้งค่า (เซ็ท) เวลาได้ ซึ่งจะอยู่ประมาณ 8-15 วินาที ดังนั้นหลังจากที่ไฟดับท่านลองนับ 1-15 ดู รับรองว่าไม่เกิน ไฟต้องติดอย่างแน่นอน ถ้าไม่ติดแสดงว่ามีปัญหาแล้วหล่ะครับ
โดยทั่วไป ATS มีสองชนิด คือ 1. ชนิดเซอร์กิตเบรคเกอร์ ซึ่งก็จะมีขนาดแอมป์ตามขนาดของเบรคเกอร์ และ 2. ชนิดคอนแทคเตอร์
นอกจากนี้ ATS ยังแบ่งได้อีกเช่น 1. Open Transition (ในระหว่างที่ Transfer จะมีไฟกระพริบ)
2. Closed Transition (ในระหว่างที่ Transfer จะใช้เวลาน้อยมาก จนไฟแทบจะไม่กระพริบเลย)